รายงานการวิจัย
เรื่อง การแก้ปัญหาการส่งงานในรายวิชาการจัดทำสื่อและการนำเสนอ
โดยใช้วิธีการส่งงานผ่านระบบห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom
ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6
ชื่องานวิจัย การแก้ปัญหาการส่งงานในรายวิชาการจัดทำสื่อและการนำเสนอโดยใช้วิธีการส่งงานผ่านระบบห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย นายขจรศักดิ์ พวงกุหลาบ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเรื่องารแก้ปัญหาการส่งงานในรายวิชาการแก้ปัญหาการส่งงานในรายวิชาการจัดทำสื่อและการนำเสนอโดยใช้วิธีการส่งงานผ่านระบบห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยประชากรในการทำวิจัยคือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 2 จำนวน 38 คน ซึ่งใช้ ระยะเวลาในการทำวิจัยวิจัย 1 ภาคเรียน คือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเครื่องมือที่ผู้จัดทำได้สร้างขึ้นได้แก่ แบบประเมินส่งงานผ่านระบบ Google Classroom และระบบ Google Classroom ที่เป็นเครือข่ายของ website Google
เครื่องมือของแบบประเมินความพึงพอใจเป็นแบบมาตรการประเมิน Rating (Scale) ( 5 ระดับ ตามแนวคิดของลิเคิร์ท ข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ โดยใช้เกณฑ์น้ำหนักคะแนนประเมินค่าจัดอันดับความสำคัญ และสำหรับแปลความหมายใช้ค่าเฉลี่ยของค่าที่วัดได้และยึดแนวคิดของเบสท์ Best,1986: 195)
การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้สถิติที่ใช้วิเคราะห์ปริมาณการส่งงานของนักเรียน คือ ค่าเฉลี่ย(µ)และร้อยละ
(%) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านความพึงพอใจใช้สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือเฉลี่ย (µ) (ร้อยละ (% ) ค่าและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
อภิปรายผล
จากผลการวิจัยเรื่องการแก้ปัญหาการส่งงานในรายวิชาการจัดทำสื่อและการนำเสนอ โดยใช้วิธีการส่งงานผ่านระบบห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถอภิปรายผล ได้ดังนี้
จากผลการวิจัยพบว่ามีจำนวนนักเรียนที่ไม่ Join Class ในปริมาณน้อยเกิดจากพักการเรียนเป็นนักเรียนโครงการแลกเปลี่ยน มีจำนวนักเรียนที่ส่งงานผ่านระบบ Google Classroom ตามกำหนดมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนนักเรียนทั้งหมด แต่มีนักเรียนส่งงานในปริมาณที่เพิ่มขึ้นจากการสั่งงานแรกและมีจำนวนนักเรียนที่ส่งงานช้าในปริมาณน้อยมาก ส่วนนักเรียนที่ไม่ส่งงานนั้นไม่มีเนื่องจากครูผู้สอนจะติดตามทวงงานผ่าน Google Classroom เป็นระยะทำให้มีแต่นักเรียนที่ส่งงานล่าช้า
จากผลการประเมินความพึงพอใจพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในการส่งงานผ่านระบบ Google Classroom ในระดับมากที่สุด โดยพิจารณาจากการประเมินเป็นรายข้อได้ว่า นักเรียนมีความเข้าใจในระบบของ Google Classroom ในระดับมากที่สุด มีความประหยัดเวลาในการส่งงาน ลดขั้นตอนและอุปสรรคในการส่ง งาน ในระดับมากที่สุด มีการใช้ระบบได้เหมาะสมกับวิชาที่เรียนในระดับมากที่สามารถนำไปใช้ในวิชาอื่น ได้ในระดับมากที่สุด นั่นคือนักเรียนมีการคิดต่อยอดและประยุกต์วิธีการส่งงานของตนในรายวิชาอื่นๆ ได้ สามารถส่งงานได้ตรงตามเวลาที่กำหนด ได้ในระดับมากที่สุดและนักเรียนยังมีความต้องการที่ใช้ระบบ Google Classroom ในการส่งงานต่อไป ในระดับมากที่สุด
จะเห็นได้ว่าการส่งงานผ่านระบบ Google Classroom นั้น นักเรียนไม่สามารถ Join Class ได้ครบ ตามจำนวนนักเรียน ทั้งหมดซึ่งมาจากปัจจัยด้านอื่น เช่น เกิดจากพักการเรียนเป็นนักเรียนโครงการแลกเปลี่ยน ถึงแม้ว่าจำนวนนักเรียนที่ส่งงานตามกำหนดจะครึ่งหนึ่งของจำนวนนักเรียนทั้งหมดแต่จำนวนนักเรียนที่ส่งงานตามกำหนดมีมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวน นักเรียนที่ Join Class ซึ่งจำนวนนักเรียนส่งงานตามกำหนด มีมากขึ้น จากการส่งงานในครั้งแรก หากมีชิ้นงานที่มากกว่านี้คาดว่าอาจทำให้จำนวนนักเรียนที่ส่งงาน ตามกำหนด มีมากขึ้น ส่วนความพึงพอใจของ นักเรียนนั้นความรู้ความสนใจ และอยากให้มีการใช้ Google Classroom เป็นวิธีการส่งงานในครั้งต่อไป แต่ขัดแย้งกับจำนวนนักเรียนที่ส่งงานตามกำหนด นั่นหมายความว่า Google Classroom ระบบ ยังไม่สามารถปรับพฤติกรรมการส่งงานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้ดีเท่าที่ควรแต่สามารถช่วยเพื่อความสะดวกในการส่งงานมากขึ้นเท่านั้น
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัย
ควรทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอน โดยการสอนผ่านระบบ Google Classroom
ควรทำวิจัยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านระบบ Google Classroom